ผลกระทบจากพายุหมุนนาร์กิส ของ เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551

อ่าวเบงกอลฝั่งตะวันตก

ภาวะฝนตกจากพายุหมุนนาร์กิส ตรวจวัดโดยคณะตรวจวัดปริมาณฝนตกในเขตร้อนแห่งองค์การนาซา (Tropical Rainfall Measuring Mission)

พายุหมุนนาร์กิสได้ก่อให้เกิดภาวะฝนตกหนักในประเทศศรีลังกา ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม และภาวะดินถล่ม ระหว่างตำบลกว่าสิบตำบลในศรีลังกา โดยตำบลรัตนปุระ และตำบลเคกัลเล ได้รับผลกระทบมากที่สุด กว่าสามพันครอบครัวในตำบลดังกล่าวบ้านแตกสาแหรกขาด บ้านเรือนหลายพันหลังจมน้ำ อีกยี่สิบเอ็ดหลังถูกทำลายไปโดยอำนาจแห่งพายุ ชาวศรีลังกาสี่พันห้าร้อยคนกลายเป็นผู้ไร้บ้าน[1] และกว่าสามหมื่นห้าพันคนถูกทอดทิ้งอยู่บนเกาะ ซึ่งในจำนวนคนบนเกาะนี้ หนังสือพิมพ์อุบาลี (Upali Newspaper) แห่งบังกลาเทศรายงานว่า ได้รับบาดเจ็บสาหัสสามราย และถึงแก่ความตายอีกสองราย[2]

กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสาธารณรัฐอินเดียออกประกาศเตือนชาวประมงให้งดออกทะเลในระหว่างที่พายุหมุนนาร์กิสพัดผ่านดินแดน โดยได้พยากรณ์ว่าพายุรุนแรงจะเคลื่อนผ่านชายฝั่งรัฐทมิฬนาฑูและรัฐอานธรประเทศ[3] นอกจากนี้ อิทธิพลของพายุหมุนดังกล่าวได้กระทำให้อุณหภูมิในอินเดียลดลง หลังจากที่ได้สูงขึ้นอย่างรุนแรงเพราะคลื่นความร้อน[4]

รัฐบาลบังกลาเทศได้ออกประกาศให้บรรดาเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวพืชผลให้สิ้นก่อนพายุจะเคลื่อนตัวถึงประเทศตน ซึ่งในขณะนั้นบังกลาเทศก็ประสบภาวะอาหารขาดแคลนมาแต่ปีก่อนเพราะพายุหมุนสิทร์ อยู่แล้ว รัฐบาลจึงเกรงว่าพายุหมุนนาร์กิสจะกระทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงอีก

พม่า

(บน) สภาพภูมิประเทศของพม่าก่อนเกิดพายุ และ (ล่าง) หลังเกิดพายุ.เขตอิระวดีซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด

อัตราความเสียหาย

หลังจากที่พม่าเผชิญกับพายุหมุนนาร์กิสแล้ว ทางการพม่ารายงานว่า อัตราการตายในประเทศมีประมาณห้าหมื่นคน และผู้คนพลัดหลงประมาณสี่หมื่นหนึ่งพันคน[5] สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าผู้คนในพม่ากว่าสองล้านถึงสามล้านคนกลายเป็นผู้ไร้บ้าน

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า อาคารถูกทำลายหลายแสนหลังในเมืองลบุตร เขตอิรวดี สำหรับจำนวนดังกล่าว สำนักข่าวแห่งพม่ารายงานว่า ร้อยละเจ็ดสิบห้าของอาคารพังทลาย ร้อยละยี่สิบหลังคาถูกซัดหายไป และที่เหลือยังอยู่รอดปลอดภัย[6]

สภาพความรุนแรง

เมื่อเทียบกับเหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ.ศ. 2547 แล้ว ถือว่าเหตุการณ์พายุนาร์กิสนี้เป็นพิบัติภัยที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติพม่า

นายแอนดริว เคิร์กวูด (Andrew Kirkwood) ผู้อำนวยการองค์กรการกุศลแห่งสหราชอาณาจักรเพื่อการพิทักษ์เยาวชน (British charity Save The Children) แถลงว่า ตนกำลังพิเคราะห์จำนวนผู้เสียชีวิตห้าหมื่นรายและผู้ไร้บ้านอีกกว่าหลายล้านราย โดยเห็นว่าเป็นความรุนแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติพม่า ซึ่งจำนวนดังกล่าวอาจมากกว่าจำนวนผู้เสียหายในเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศศรีลังกาว่าหลายเท่าตัว[7]

เป็นที่คาดกันว่า พายุหมุนนาร์กิสครั้งนี้อาจส่งผลกระทบรุนแรงที่สุด ในบรรดาเหตุการณ์ที่เกิดจากพายุหมุนด้วยกันเองนับแต่ บังกลาเทศถูกพายุหมุนถล่มใน พ.ศ. 2534 ซึ่งปรากฏคนตายถึงหนึ่งแสนสามหมื่นแปดพันคน และอีกหนึ่งหมื่นคนเป็นอย่างน้อยถึงแก่ความตายที่ดินแดนสามเหลี่ยมในเมืองโพคัล (Bogale) [8]

ทูตต่างประเทศประจำนครย่างกุ้งนายหนึ่งให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวรอยเตอส์ซึ่งขอให้พรรณนาเหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิสถล่มพม่าว่า รอบกายของตนนั้นดูประหนึ่งซากที่หลงเหลือจากภาวะสงคราม ปฏิกูลที่ทะลักนองทั่วนครทำให้เกิดภาวะน้ำเน่าท่วม (waste flood) ซึ่งส่งผลให้นาข้าวเสียหายหลายแห่ง[9]

เจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติรายหนึ่งให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว่า ถือเป็นเหตุการณ์ที่ย่ำแย่เหตุการณ์หนึ่ง บ้านเรือนเกือบทั้งปวงพังพินาศ ประชาชนต่างอกสั่นขวัญผวา เจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติอีกรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า ดินดอนสามเหลี่ยม (delta) แห่งลุ่มน้ำอิรวดีได้รับผลกระทบหนักมาก ไม่แต่เพราะลมและฝน แต่ยังเพราะความกำเริบของพายุอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ “เดลีเทเลกราฟ” (Daily Telegraph) แห่งสหราชอาณาจักร ฉบับวันที่ 5 พฤษภาคม 2551 รายงานว่า ราคาโภคภัณฑ์ในประเทศพม่าอาจได้รับผลกระทบเพราะเหตุการณ์พายุครั้งนี้ด้วย[10] ซึ่งวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 นายวรเดช วีระเวคิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศของไทย แถลงโดยอ้างถึงรายงานของนายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทยประจำนครย่างกุ้ง ว่าราคาโภคภัณฑ์ในพม่าได้สูงขึ้นสองถึงสามเท่าตัวแล้ว โดยสภาพแวดล้อมในนครได้รับความเสียหายหนัก ห้างร้านส่วนใหญ่ปิดกิจการ เครื่องอุปโภคบริโภคมีฝืดเคือง และโดยรวมแล้วความเป็นอยู่ของผู้คนในนครค่อนข้างกันดาร[11]

การจัดการสถานการณ์ของรัฐบาลพม่า

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
ชุดบทความประวัติศาสตร์พม่า

ประวัติศาสตร์พม่ายุคต้น
นครรัฐปยู
(ประมาณ พ.ศ. 443 – ประมาณ พ.ศ. 1383)
อาณาจักรมอญ
(พศว. 14 – 16, พศว. 18 – 21, พศว. 23)
อาณาจักรพุกาม
(พ.ศ. 1392 – 1830, อาณาจักรยุคที่ 1)
อาณาจักรอังวะ (พ.ศ. 1907 – 2098)
อาณาจักรมเยาะอู (พ.ศ. 1977 – 2327)
ราชวงศ์ตองอู
(พ.ศ. 2029 – 2295, อาณาจักรยุคที่ 2)
ราชวงศ์คองบอง
(พ.ศ. 2295 – 2428, อาณาจักรยุคที่ 3)
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367 – 2369)
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง ( พ.ศ. 2395)
สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม (พ.ศ. 2428)
พม่าของอังกฤษ
(พ.ศ. 2367 – พ.ศ. 2485, พ.ศ. 2485 – 2491)
อาระกันของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
ตะนาวศรีของอังกฤษ (พ.ศ. 2367 – 2395)
พม่าตอนล่างของอังกฤษ (พ.ศ. 2395 – 2429)
พม่าตอนบนของอังกฤษ (พ.ศ. 2428 – 2429)
การยึดครองพม่าของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485 – 2488)
ขบวนการชาตินิยมในพม่า (หลัง พ.ศ. 2429)
บามอว์
ออง ซาน
ยุคประชาธิปไตย (พ.ศ. 2491 - 2505)
อู นุ และอู ถั่น
รัฐบาลทหารครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2505 – 2532)
เน วิน
การก่อการปฎิวัติ 8888 (พ.ศ. 2531)
ออง ซาน ซูจี
รัฐบาลทหารครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2532 – 2554)
การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ (พ.ศ. 2550)
พายุหมุนนาร์กิส (พ.ศ. 2551)
ความขัดแย้งภายในพม่า
เหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555
[แก้ไขแม่แบบนี้]

ในการนี้ รัฐบาลทหารพม่าได้ประกาศให้เขตย่างกุ้ง เขตอิรวดี เขตหงสาวดี ตลอดจนรัฐมอญ และรัฐกะเหรี่ยงเป็นเขตประสบพิบัติภัย

อย่างไรก็ดี รัฐบาลทหารพม่าหาได้มีและดำเนินมาตรการใด ๆ เพื่อแก้ไข เยียวยา และฟื้นฟูความเลวร้ายในบ้านเมืองอย่างเหมาะสม หนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายงานว่า ชาวพม่าจำนวนมากโกรธแค้นรัฐบาลที่ไม่มีการเตือนภัยที่ดีพอ และสมาคมเพื่อการช่วยเหลือนักโทษการเมืองซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานครรายงานว่า เจ้าหน้าที่พม่ายิงประหารนักโทษแห่งเรือนจำอินเส่งในขณะที่ฉวยจังหวะจลาจลจากพายุเตรียมหลบหนี ปรากฏนักโทษตายสามสิบหกคน และบาดเจ็บอีกประมาณเจ็ดสิบคน อย่างไรก็ดี ทางการพม่าปฏิเสธรายงานทั้งสอง[12]

ด้วยเหตุนี้เอง นานาชาติจึงวิตกว่า ศพนับแสนที่รัฐบาลพม่าไม่จัดการแต่ปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าอืดยังหนทางตามยถากรรมนั้น จะนำมาซึ่งโรคระบาดขนานใหญ่ และอาจลุกลามใหญ่หลวงได้[13]

วันที่ 6 พฤษภาคม 2551 นางลอรา บุช คู่สมรสของนายจอร์จ วอล์กเกอร์ บุช ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวโจมตีรัฐบาลทหารพม่าว่าล้มเหลวในการแจ้งเตือนภัยและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน[14] ซึ่งร้อยตำรวจเอกนิติภูมิ นวรัตน์ นักวิเคราะห์สถานการณ์ต่างประเทศ ให้ความเห็นต่อการกระทำของนางลอรา บุช ว่า เป็นเพียงเกมการเมืองที่ดำเนินอยู่บนน้ำตาของผู้ทุกข์ยาก อีกประการหนึ่ง สหรัฐอเมริกาเองก็ล้มเหลวในการแจ้งเตือนภัยและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแคทรีนาพัดถล่มสหรัฐอเมริกาเมื่อวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2548 เช่นกัน[15]

การประชามติว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญของพม่า

ถึงแม้ว่าจะบังเกิดภาวะมหันตภัย แต่ในเบื้องแรกรัฐบาลทหารพม่าคงยืนยันว่าจะจัดให้มีการออกเสียงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญพม่าตามที่กำหนดไว้ในวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2551 ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากทั้งพรรคฝ่ายค้านของพม่าเองและจากนานาชาติ ซึ่งหลังจากที่เผชิญการต่อต้านอย่างแรงจากหลายฝ่าย ก็ได้มีประกาศเลื่อนการประชามติเฉพาะนครย่างกุ้งและพื้นที่ประสบพิบัติภัยไปเป็นวันที่ 24 พฤษภาคม 2551[16]

อนึ่ง ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2551 สำนักข่าวมิซซิมา (Mizzima) แห่งสหภาพพม่าได้จัดให้มีการสำรวจความคิดเห็นของชาวพม่าว่าด้วยการประชามติครั้งนี้ ปรากฏว่าร้อยละหกสิบของผู้ตอบการสำรวจทั้งหมดคงไปออกเสียงอยู่เพราะเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิของตน อย่างไรก็ดี ร้อยละเจ็ดสิบไม่ทราบว่าอะไรคือรัฐธรรมนูญ กับทั้งร้อยละห้าสิบสองยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะออกเสียงว่าอย่างไรดี ซึ่งผลลำดับถัดมาได้แก่ร้อยละยี่สิบว่าจะออกเสียงไม่รับ[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 http://www.worldvision.com.au/emergency/myanmarCyc... http://www.abc.net.au/am/content/2008/s2237462.htm... http://www.bt.com.bn/en/home_news/2008/05/08/brune... http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNew... http://www.abs-cbnnews.com/storypage.aspx?StoryId=... http://www.channelnewsasia.com/stories/singaporelo... http://www.christianitytoday.com/ct/2005/003/18.50... http://www.cnn.com/2008/WORLD/asiapcf/05/06/myanma... http://www.cnn.com/2008/WORLD/asiapcf/05/06/myanma... http://ap.google.com/article/ALeqM5greyFH3qkj9mc9o...